สัมภาษณ์โครงการ Best Practice การเรียนรู้และพัฒนาตนเองผ่านโครงการเพื่อชุมชน PBL : โครงการ Physical Creative Activities for Thoo Mweh Khee Migrant School (PCA)

โครงการ Physical Creative Activities for Thoo Mweh Khee Migrant School (PCA)

ศูนย์การเรียนรู้ซูแมวคี อำเภอพบพระ จังหวัดตาก


           ศูนย์การเรียนรู้ซูแมวคี มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ถึงมหาวิทยาลัย นักเรียนส่วนใหญ่คือกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไม่ปกติในประเทศพม่า การเรียนการสอนใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ก่อนเรียนในระดับมหาวิทยาลัยนักศึกษาต้องเรียนปรับพื้นฐานในระดับ Basic English Pre University นักศึกษาส่วนใหญ่เครียด เนื่องจากผลกระทบของสงครามทำให้ต้องจากบ้านมาไกล และยังต้องปรับตัว รวมทั้งการศึกษาที่ยากขึ้น ทำให้เกิดความเครียดสะสม และในศูนย์การเรียนรู้ไม่มีวิชาพละและสันทนาการ ทำให้ครูคิดโครงการ Physical Creative Activities for Thoo Mweh Khee Migrant School (PCA) ประกาศชักชวนให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ มีนักศึกษาสมัครกว่า 50 คน ครูพลาตู (พี่เลี้ยงโครงการ) ประชุมนักศึกษาและให้แบ่งบทบาทหน้าที่ตามความสนใจ มีนักศึกษาที่เป็นแกนนำ 10 คน

           นักศึกษาส่วนใหญ่ขี้อาย ไม่เคยทำกิจกรรม แม้อยู่ในศูนย์การเรียนรู้เดียวกันแต่ไม่ได้รู้จักสนิทกัน และต้องการหากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย การทำโครงการฯ ทำให้พวกเขามีพื้นที่ในการฝึกทักษะการเข้าสังคม ได้ทำงานร่วมกัน วางแผนและออกแบบกิจกรรม พวกเขาวางแผนโดยแบ่งการออกกำลังกายเป็น 3 กลุ่ม 1.Sport : กีฬาแชร์บอล,แบดบิดตัน 2.Gym : ยกน้ำหนัก, Sit-up, โหนบาร์ 3. Traditional Dance: การเต้นโดยการกระโดดข้ามไม้ไผ่ เป็นการเต้นของชาวกระเหรี่ยง คนไทยเรียกการเต้นแบบนี้ว่า ลาวกระทบไม้

          ขั้นตอนการหาอุปกรณ์ในตอนแรกพวกเขาคิดว่าต้องซื้อทั้งหมด เมื่อไปปรึกษาครูพี่เลี้ยง ครูแนะนำว่าให้ลองกลับมาประชุมกันว่า มีอะไรที่สามารถทำเองได้และซื้อให้น้อยที่สุด จากการประชุมมีสมาชิกในทีมสามารถสานตะกร้าแชร์บอลได้ พวกเขาแบ่งกันไปตัดไผ่ เพื่อมาสานตะกร้า รวมทั้งทำเน็ท และบาร์โหน พวกเขาร่วมแรงร่วมใจกันจัดทำอุปกรณ์เอง กลุ่ม PCA นัดหมายสมาชิกเพื่อเล่นกีฬาทุกเย็นวัน จันทร์ อังคาร พฤหัสบดี จากนั้นวันศุกร์แกนนำจะประชุมเพื่อถอดบทเรียน

          ในช่วงแรกของการเล่นกีฬาของการเล่นกีฬา สมาชิกต้องปรับตัวเพื่อหาสมดุลของแต่ละคน เป้าหมายที่จะให้ทุกคนซิทอัพตามจำนวนก็ปรับให้เหมาะสม กีฬาแชร์บอลหลายคนไม่รู้จัก จึงให้คุณครูต่างชาติในโรงเรียนมาแนะนำกติกาและสอนการเล่น พวกเขาปรับแผน ร่วมแก้ไขสถานการ์เฉพาะหน้า ทีม PCA ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเห็นสมาชิกผ่อนคลาย มีความสุข สุขภาพดีขึ้น อีกทั้งพวกเขายังสนิทสนมกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน นอกเหนือจากกลุ่มสมาชิกยังมีนักเรียนประถมที่สนใจมาใช้อุปกรณ์ Gym สม่ำเสมอ

          พวกเขาเรียนรู้กันและกัน จากแต่ก่อนที่เพียงเดินผ่านกันไป การทำงานทำให้พวกเขามั่นใจขึ้น กล้าสื่อสาร กล้าแสดงออก รู้จักบทบาทความรับผิดชอบ รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ ประสานความร่วมมือและทำงานเป็นทีม สมาชิกคนหนึ่งบอกว่า “ผมกระตือรือร้นขึ้น ผมได้พูด มันช่วยผมในเรื่องของการเรียน ผมอยู่ที่นี่มาครึ่งปี การเรียนทำให้ผมปวดหัวมาก ใช้สมองเยอะ ได้ทำโครงการนี้มันช่วยให้ผมมีความรู้สึก ผ่อนคลาย เราได้พัฒนาขึ้นพัฒนาตัวเองมากขึ้น มีความจดจ่อสนใจในการเรียนเพิ่มมากขึ้น กว่าแต่ก่อน” วันนี้ศูนย์เรียนรู้มีรอยยิ้มมากขึ้น พวกเขามีเครื่องมือในการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับช่วงวัย เมื่อร่างกายแข็งแรง ใจเป็นสุข เบิกบาน พวกเขาก็พร้อมเรียนรู้บทเรียน ตั้งใจเรียนเพื่อให้พร้อมที่จะกลับไปพัฒนาบ้านที่พวกเขาจากมา


ความโดดเด่น

  • สามัคคี รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเองและช่วยเหลือกันและกัน
  • มีทักษะชีวิต และแก้ไขสถานการณ์อย่างสร้างสรรค์ เช่น การทำอุปกรณ์กีฬา
  • มีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่ยืดหยุ่นเพื่อให้ทุกคนมีความสุขและผ่อนคลาย
  • ทำงานเป็นทีม
  • นักเรียน/นักศึกษาในศูนย์เรียนรู้ได้ประโยชน์จากการมีพื้นที่ทำกิจกรรมและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน



บทสัมภาษณ์วันที่ 20 มกราคม 2563

สนทนาผ่านล่ามภาษาปกาเกอญอ และภาษาอังกฤษ


ถาม  ขอให้แนะนำตัว?

ตอบ  พวกเราชื่อทีม PCA จากโครงการ Physical Creative Activities for Thoo Mweh Khee Migrant School.


ถาม  พวกเรามารวมตัวกันได้อย่างไร?

ตอบ  อยากทำโครงการ สนใจที่จะทำ ทุกคนสมัครเข้ามา โรงเรียนไม่มีวิชาพละ อยากให้เพื่อนที่ไม่ได้เรียน เพื่อนที่มาจากฝั่งพม่าอาจไม่เคยได้เล่นกีฬาพวกนี้ พอครู Pla Taw บอกว่ามีโครงการนี้ เพื่อนบอกว่าดีจึงสมัครเข้ามา


ถาม  มีกี่คน ทุกคนเรียนรุ่นเดียวกันไหม?

ตอบ  มีหลายรุ่นมีหลายรุ่นทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้อง เพื่อนๆ ปีหนึ่งและปีสอง


ถาม  ทำงาน แบ่งหน้าที่อย่างไร ใครทำอะไรบ้าง?

ตอบ เรารับจากความสมัครใจ บอกหน้าที่ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อนๆ ก็สมัครใจว่าจะทำอันนี้ ส่วนเพื่อนที่ไม่อยากสมัครใจ เราก็ถามก่อนว่าทำงานนี้โอเคไหม เพื่อนบอกโอเค


ถาม  ใครทำหน้าที่อะไร?

ตอบ เชอคึมู ทำหน้าที่จดบันทึกทุกครั้งที่มีการกระชุมจัดกิจกรรม เขาจะเป็นคนจดบันทึก ตอนแรกเริ่มเขาทำ ของหนูถ้ามีของต้องไปซื้อหนูก็จะไปซื้อกับพี่ เพราะรุ่นพี่คนนี้พูดไทยได้

ตอบ  ผมเป็นคนเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ เวลาที่เพื่อนๆ ต้องการข้อมูลในช่วงนั้นผมก็จะเป็นคนให้ข้อมูลและสืบค้นข้อมูลที่จำเป็น 2 คน

ตอบ  เป็นเหรัญญิก และเป็นคนถ่ายรูปคอยส่งรูป


ถาม  ใครเป็นคนแบ่งหน้าที่หรือเราแบ่งกันเอง?

ตอบครู Pla Taw จะเขียนหน้าที่แล้วพวกเราก็เป็นคนแบ่งกันเอง ในโครงการของเรา ใครอยากทำ สมัครใจ ครูลงชื่อให้


ถาม  ตอนทำงานพวกเรารู้สึกอย่างไรบ้าง?

ตอบ  รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำงานกับเพื่อนได้ทำงานเป็นทีม ได้ความรู้เพิ่มเกี่ยวกับการทำโปรเจค เป็นครั้งแรกที่ได้ทำ

ตอบ  ได้ประสบการณ์ใหม่


ถาม  ประสบการณ์ใหม่ คืออะไรบ้าง?

ตอบ  เมื่อก่อนอยู่ที่บ้านไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมแบบนี้ ได้มีโอกาสทำเป็นครั้งแรกของพวกหนู

ตอบ  ได้มีเพื่อนเพิ่มขึ้นรู้ว่าทำงานเป็นกลุ่มทำอย่างไร

ตอบ  ได้ความรู้เยอะ ความร่วมมือ การทำงานร่วมกัน

ตอบ  สำหรับผมเป็นครั้งแรกไม่มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน

ตอบ  ผมชอบโครงการนี้มาก ได้เรียนรู้หลายอย่างจากโครงการนี้ ได้บทเรียนรู้หลายอย่างได้มีส่วนร่วมกับคนอื่นๆ เป็นครั้งแรกของผมกับคนไทยที่ได้แบ่งปันประสบการณ์กัน

ตอบ  ได้ความรู้ ได้รู้การทำงาน เพื่อนใหม่ มิตรภาพ

ตอบ  หนูอยู่โรงเรียนเดียวกัน เจอกันแค่ส่งยิ้มให้กันพอเจอกัน ได้ทำโครงการนี้หนูก็รู้จัก น้องๆ และพี่ๆ สมาชิกเพื่อน ดีใจเป็นครั้งแรกที่ทำโปรเจคนี้

ตอบ  ได้ร่วมโครงการนี้ทำให้มีแรงบันดาลใจ ในการเข้าร่วม ได้รับประสบการณ์ที่มากขึ้น มีความมั่นใจมากขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ


ถาม  PCA ใครเป็นคนคิด อาจารย์ หรือว่าเราเป็นคนเสนอ?

ตอบ  ครูเป็นคนคิดแล้วมาปรึกษากับพวกหนูว่าสนใจหรือเปล่า ว่าสนใจทำโครงการไหม พวกเราเห็นด้วย


ถาม เราได้หัวข้อว่า PCA วิธีการทำงานของเราทำอย่างไร?

ตอบ  พอได้หัวข้อ PCA พวกหนูแบ่งเป็นสองกลุ่ม PCA คือ Physical Creative Activities อยากได้อะไรที่สร้างสรรค์ได้ พวกหนูแบ่งกันคิดแล้วเอามาแบ่งปันกัน ว่าจะทำกิจกรรมประเภทไหนบ้าง กีฬามี แชร์บอล กีฬาในยิม traditional dace และ แบ่งว่าใครจะดูแลอะไร

มี แชร์บอล แบตมินตัน บาสเก็ตบอล เขามาให้ความรู้ทั้งสามอย่าง บาสเก็ตบอลเราไม่มีผู้ชายก็เลยไม่เลือก ยิม จะมี วิดพื้น ยกน้ำหนัก บาร์โหน traditional dace ก็จะเป็นการเต้นแบบที่มีไม้ไผ่สองอัน เป็นการเต้นอย่างหนึ่ง ของกระเหรี่ยง

ตอบ  แบ่งคนดูแลว่าใครจะดูแลแชร์บอล แบตมินตัน


ถาม   พอได้ไอเดียว่ามีสามอย่างแล้ว หาคนจากไหนมาเล่น?

ตอบ  จะเลือกนักเรียนที่ไม่มีโอกาสมาทำ นักเรียนบางคนเก่งได้ไปแสดงที่ต่างๆ แต่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ออกไปแสดง ครั้งแรกครู Pla Taw ประกาศหน้าเสาธง ว่าใครสนใจสมัครบ้าง ก็มีทีมของเราเก็บรายชื่อจากชั้นเรียน ครูก็เลือกอีกที สมัครมา 50 กว่าคน คัดเลือกเหลือสิบกว่าคน เอาคนที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ทำ


ถาม  พอทำงานจริง น้องๆ เพื่อนๆ มาทำงานกับเรา ผลตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง?

ตอบ  ครั้งแรกที่น้องๆ เข้ามาร่วมด้วยคือรู้สึกเหนื่อย อาจจะยังไม่เคยทำกิจกรรมแบบนี้ ต่อมาเรากำหนดให้ทำ เช่น Sit Up ครั้งแรกต้องได้ตามเป้าที่กำหนดไว้

ตอบ  แรกเราเริ่มจาก Sport ก่อนแล้วก็ไปต่อด้วย ยิมก็ทำให้พวกเขาเหนื่อย ทำให้บางคนตื่นเต้นไม่เคยทำ ตอนแรกบางคนอาจไม่รู้วิธีการเล่น เช่น แชร์บอล พอได้ทำแล้ว ก็ดีขึ้น ครูเจสสิก้าสอน


ถาม  หลังจากเล่นกีฬาแล้วไปทำอะไรต่อ ขั้นตอนทำอะไรต่อไป?

ตอบ ก่อนพวกหนูเล่นกีฬา จะวอมก่อน หลังเล่นจะถามความรู้สึกว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วก็กลับไปวอม ทำสมาธิ

ตอบ  ทำสมาธิทำต่อ ดื่มน้ำ แยกย้าย แล้วก็พบกันรอบหน้า เราเล่นทีละนิด จะทำวันจันทร์ อังคาร เย็น พฤหัส เย็น วันศุกร์เย็นก็จะประชุม ว่าเป็นอย่างไรบ้างในกลุ่มพวกหนู


ถาม  แต่ละครั้งใช้เวลานานไหม?

ตอบ  เราก็จะวนทุกกลุ่มได้เล่นทุกประเภทก็ครบ


ถาม  ตั้งแต่ได้หัวข้อมา แบ่งหน้าที่ แชร์ไอเดีย ให้น้องเล่น มีปัญหาอะไรกันไหมในกลุ่ม?

ตอบ  ปัญหาอย่างเดียวของเราคือ มีอุปกรณ์ที่เราต้องทำเองค่ะ เรายังไม่ได้ตัดไม้ไผ่ เราก็คิดว่าเราทำได้ไหม ตาข่ายแบตมินตัน ตอนแรกพวกหนูจะไม่ทำเองจะไปซื้อ รุ่นพี่เขาเสนอว่า ทำได้ พี่สอน พี่เคยทำ ตอนแรกจะซื้ออุปกรณ์แต่ครูบอกว่าเราสร้างไม่ได้จะซื้อ อะไรที่เราทำได้เราจะสร้างเอง ครูบอกว่าอย่าพึ่งทำ อะไร คิดว่าอุปกรณ์อะไรที่ทำได้บ้าง พวกหนูไม่รู้จะเริ่มจากอันไหนก่อน พอเพื่อนบอกว่าสามารถสานตระกร้าแบบแชร์บอลได้ อันที่เราทำเราไม่ได้ทำแค่นี้ เราเรียกสมาชิกมาทำ เราก็แบ่งหน้าที่กันคนนี้ไปตัดไม้ไผ่คนนี้ไปทำตาข่าย


ถาม  นอกจากแบ่งหน้าที่อันนี้แล้ว ยังมีตอนอุปกรณ์เราก็แบ่งหน้าที่อีกเพื่อนบางคนมีความสามารถในการสานตะกร้าก็สามารถทำเป็นตะกร้าแชร์บอลได้คนนี้ทำเน็ตได้?

ถาม  อุปกรณ์ส่วนใหญ่พวกเราก็เป็นคนทำ?

ตอบ  อุปกรณ์ส่วนใหญ่ก็ซื้อมาค่ะเช่นอุปกรณ์ยิม เวลาเรียนทั้งวันตอนเย็นก็ PCA


ถาม  มีปัญหาเรื่องเวลาจัดการอย่างไร?

ตอบ  เราจะประชุมกันทางนี้นะ ครูส่งข่าวไปทางกลุ่มที่อยู่ติดเด็กหอ เพราะเด็กหอไม่สามารถแชทได้ เราก็อาศัยไปเรียกเพื่อนมาประชุม


ถาม  ตอนเพื่อนมาสายเรารู้สึกยังไง?

ตอบ  หนูเคยมาใส่หนูเข้าใจเพื่อนดี


ถาม  เพื่อนๆ รู้สึกอย่างไรบ้างเวลาที่เพื่อนมาสาย?

ตอบ  เพื่อนรู้สึกเหมือนกันค่ะ สมาชิกมาไม่ครบ เวลาเราแบ่งกลุ่มแล้วพวกเขามาไม่ครบเราก็เลย แบ่งกลุ่มใหม่บางคนก็อยู่ข้างนอก เดินทางมาด้วยรถรับส่ง


ถาม  เราแบ่งเวลากันอย่างไร?

ตอบ  โรงเรียนของพวกหนูเลิกตอน 15:30 น. ทุกคนมีเวลาแค่ 20 นาที ตอนแรกเวลาที่โรงเรียนยังไม่เลิก เรามีเวลาไม่พอ

ตอบ  เราไม่ค่อยมีเวลาพักพวกเราก็ยืดหยุ่นเวลาด้วย ไม่ครบเราก็รวมทีมกันใหม่ก็ได้ลองแบ่งทีมกันมา แล้วก็หาเวลาพักให้กับพวกเราทุกคนที่จะมาเป็นทีม ถ้ามีเพื่อนมาสายเราก็ไปตามเพื่อน เพราะว่าเขาติดต่อทางโทรศัพท์ไม่ได้ หรือเพื่อนมาสายเราก็เข้าใจเพื่อน ไม่เป็นไรมีการยืดหยุ่นในทีม


ถาม มีปัญหาอื่นอีกไหมนอกจากอุปกรณ์ เวลาว่างไม่ตรงกันเรื่องการแบ่งเวลาเรียนกับเวลาทำงานทำโครงการ?

ตอบ ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือ เรา วางแผนว่าวันนี้เราจะเล่น กีฬา 3 ชนิด พอหลังเลิกเรียนสมาชิกมาไม่ครบเรารอแล้วไม่ได้เล่น 3 ชนิด เล่นแค่ 2 ชนิด บางวันก็เล่นแค่ 2 ชนิดไม่เป็นไปตามแผน


ถาม  แล้วแก้ปัญหากันอย่างไร?

ตอบ จากที่แบ่ง 3 ทีม แบ่งเหลือแค่ 2 ทีม

ถามเรามีการพูดคุยกันไหมว่าครั้งหน้า ถ้ามาสายแล้วนะเราจะต้องทำ 3 ทีม มีการพูดคุยหรือว่าชี้แจงแก้ไขกันอย่างไร?

ตอบ ทำกิจกรรมเด็กก็มาคบ ปัญหาที่มาไม่ครบเนื่องจากว่า มีบางส่วนที่ต้องไปสอบ แต่ก็มีการคุยกันอยู่ซึ่งเราจะแบ่งกันแก้ปัญหา 3 กลุ่ม คือกลุ่มเดิมที่มาอยู่แล้ว ต้องจัดให้ได้อยู่กลุ่ม ABC ถ้าสัปดาห์ไหนที่คนมาน้อย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม จริงๆ กลุ่มก็คือกลุ่มเดิม 3 กลุ่มนั่นแหละ แต่แบ่ง A B แล้วก็จำ ให้ดูจำนวน


ถาม  อะไรคือจุดเด่นข้อดีของทีมเรา?

ตอบ  เขาคือความสามัคคีคือสามารถที่จะเรียกทุกคนมาช่วยงานกันได้ ถ้าอ้างว่าเป็นงานโปรเจคนี้ สัปดาห์นั้นมีงานนี้ทุกคน ก็จะมาช่วยกันได้คนให้ความร่วมมือดี

ตอบ  ความรับผิดชอบ รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเอง

ตอบ  อุปกรณ์ที่เราสร้างขึ้นทำให้เป็นจุดเด่นของเราชนิดหนึ่ง ยิมที่เราสร้างน้องๆ หลายคนอยากมาเล่น ก็เป็นจุดเด่น

ตอบ  เป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยกันทำให้สำเร็จขึ้นได้


ถาม  เดินทางมา 6 เดือนแล้วถามว่าเราเห็นการเดินทางของทีมเราเรารู้สึกอย่างไรบ้าง?

ตอบ  ถ้าเป็นการทำงานในทีมแรกๆ จะเขินกันไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น ไม่ค่อยพูดไม่กล้าที่จะแชร์ความคิดเห็นต่อกัน พอได้ทำงานร่วมกันในกลุ่ม ก็จะมีการออกความคิดเห็นแชร์ในกลุ่ม

ตอบ  มีการพัฒนาขึ้นกล้าที่จะไปนำต่อหน้าผู้คน ตอนแรก แรกๆ จะสื่อสารติดต่อกันประสานกันลำบาก เพราะว่าอาจารย์ไม่ใช้มือถือ พอมีโปรเจคนี้ขึ้นมาจำเป็นจะต้องประสานงาน ขออนุญาตจากครูใช้โทรศัพท์สื่อสารเฉพาะในทีม ช่วงหลังจะติดต่อกันง่ายขึ้นสามารถใช้มือถือได้

ตอบ  การประชาสัมพันธ์ไม่มีปัญหา ให้ครูประกาศเสียงตามสาย แต่ก่อนครูประชาสัมพันธ์เสียงตามสายให้ตอนนี้ก็พัฒนาขึ้นทีมวิจัยเองด้วยที่เป็นคนประกาศ


ถาม  แต่ละคนรู้มีความรู้สึกอย่างไรและได้เรียนรู้อะไร?

ตอบ ฉันมีความสุขมากที่ได้ทำโครงการนี้ เพราะว่าในอดีตไม่รู้ไม่เคยรู้ว่าการเต้นเป็นอย่างไร การทำโครงการเป็นอย่างไร การทำงานร่วมกับคนอื่น ฉันได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่าง การมีส่วนร่วมกับคนอื่น การทำงานในโครงการ

ตอบ  ฉันเป็นคนที่ไม่สื่อสาร ฉันชอบอยู่คนเดียว แต่เมื่อได้ทำโครงการนี้ ฉันสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่น มีส่วนร่วมกับผู้อื่น เวลาจะพูดกับคนอื่นฉันไม่รู้ว่าจะสื่อสารอย่างไร ตอนนี้ฉันเรียนรู้แล้ว เมื่อก่อนตอนที่ฉันเห็นใครก็ตามที่เดินเข้ามาในสนามฉันไม่ชอบเลย แต่เมื่อฉันได้ทำโครงการนี้ ฉันได้ฝึกหลายอย่าง โครงการนี้ทำให้ฉันพัฒนาขึ้น เมื่อโครงการนี้จบลงฉันรู้สึกคิดถึง

ตอบ  สำหรับผมคิดว่าผมกระตือรือร้นขึ้น เพราะเมื่อผมได้พูด ช่วยผมในเรื่องของการเรียน ผมอยู่ที่นี่มาครึ่งปี มันทำให้ผมปวดหัวมาก ใช้สมองเยอะได้ทำโครงการนี้มันช่วยในเรื่องของความรู้สึก พอทำโครงการนี้ให้ความรู้สึกว่า เราได้พัฒนาขึ้นพัฒนาตัวเองมากขึ้น มีความจดจ่อสนใจในการเรียนเพิ่มมากขึ้น กว่าแต่ก่อน

ตอบ  สำหรับผมมีความสุขมาก เพราะว่าผมได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น ผมรู้สึกว่าผมพัฒนาขึ้น สิ่งที่ผมได้ทำในโครงการนี้ ผมได้รู้จักเพื่อน แล้วก็มีความมั่นใจมากขึ้น

ตอบ  ในโครงการนี้ได้รู้วิธีการทำหลายอย่าง เช่น วิธีการพูด มีความสุขเพราะมีเพื่อนมากขึ้น ผมเรียนรู้ที่จะจัดการมากขึ้นเรื่องเวลา การวางแผนสำหรับอนาคต

ตอบ  ยินดีที่ได้ทำโปรเจคนี้ ได้ฝึกตัวเองในกระบวนการต้องทำอย่างไรบ้าง เป็นขั้นเป็นตอน จากเป็นคนที่ขี้อายก่อนหน้า ต่อหน้าคนไม่กล้าที่จะพูดกับคนเยอะ ไม่เคยเล่นกีฬามาก่อนเล่นไม่เป็นด้วยซ้ำ เป้าหมายคืออยากทำงานเป็น NGO ได้เรียนรู้ การทำงานในโครงการวิจัยจะเอาความรู้นี้ไปใช้ ขอบคุณที่ได้ทำงานให้สำเร็จ จะไปสานต่อความฝันของตัวเอง

ตอบ วิธีทำโครงการ ก็มีความท้อบ้างว่าตัวเองจะไม่เข้าใจอะไร เลยคิดท้อแต่ครูเป็นคนนำ เรียนรู้จากครูว่า แต่ละขั้นตอนในการทำงานเป็นอย่างไร ระบบเป็นอย่างไร เกร็ดความรู้ที่ครูถ่ายทอดมาได้ สุดท้ายสิ่งที่ครูทำให้กับนักเรียน

ตอบ จากคนที่ขี้อาย ตอนแรกเห็นว่าตัวเองน้อยใจ ตัวเองช่วยเพื่อนไม่ได้เลย ทำงานไม่เก่งแต่หลังๆ มานี้ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมกับเพื่อนและครู ตอนนี้ความอายยังเหลืออยู่เล็กน้อย

ตอบ  ช่วงแรกมีปัญหาเพราะไม่รู้จักรุ่นพี่ชั้นปีอื่น ทำงานไม่รู้ว่าจะเริ่มคุยกันอย่างไร ความมั่นใจที่จะคุยกับเขาก็ไม่มี การทำโปรเจคคือสิ่งที่ทำให้มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น การพรีเซ้นงานบ่อยๆ ได้เจอกับพี่ๆเพื่อนๆ ต่างถิ่นต่างโครงการ ทำให้ตัวเองมีความกล้าขึ้น พอมีความกล้าพอทำไปสักพักก็มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น

ตอบ  หนูดีใจที่หนูได้ทำงานวิจัยนี้ เพราะตอนที่เรียนอยู่โรงเรียนไทยหนูก็อยากทำ เคยทำโครงการเกี่ยวกับการทำแก๊สด้วยอุจจาระของวัว หนูสนใจแต่ครูเขาเลือกนักเรียนมัธยมมปลาย หนูอยู่มัธยมมต้นก็เลยไม่ได้ทำ โครงการนี้ตอนแรกไม่ได้ทำ ครูลองให้ทำโปรเจค หนูพูดภาษาไทยได้ เวลามีประชุมอะไรถ้าหนูไปได้จะดี หนูทำประมาณ 1 เดือน พ่อหนูไม่สบาย ไม่ได้มาทำจึงไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร หนูดีใจที่หนูได้ไปค่ายเมื่อวานไข้ 3 วัน หนูได้เรียนรู้เพิ่มอีกว่าเขาต้องทำอย่างไร งานวิจัยมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง หนูได้รู้จักเพื่อนใหม่ได้รู้จักพี่ๆ


ถาม  ถ้าโปรเจคเสร็จทีมมีแผนต่อไปอย่างไร?

ตอบ  ถ้าทำกับเด็กเล็กจะเป็นสิ่งที่ดี ถ้ามีโอกาสหนูจะทำกับเด็กปฐมวัย ทำกับเด็กเล็กพวกเขาจะได้รู้สึกว่าไม่ถูกทอดทิ้ง ใช้ทีมเดิมอาจจะเพิ่มสมาชิก


ถาม  พวกเราสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของน้องๆ ที่เข้ามาร่วมกิจกรรมอะไรบ้าง?

ตอบ ตอนแรกน้องๆ ที่มาร่วม มีความกังวลยังคิดว่าตัวเองยังอยู่ฝั่งโน้น ฝั่งนู้นยังมีความไม่สงบ อยู่ตรงนี้คิดถึงพ่อแม่ พอมามีโปรเจคนี้เข้ามาทำให้ความคิด ความเครียดของเขาลดลง

ตอบ  คิดมากก็เปลี่ยนเป็นไม่คิดมาก หันมาออกกำลังกาย ตอนแรกๆ รุ่นพี่จะพาวิ่งตอนเช้าประมาณ ถึง 6:00 น.

ตอบ  สมาชิกใน PCA ได้ออกมาทำวันจันทร์ วันอังคาร วันหนึ่งเขาก็บอกหนูว่า พอได้ทำ PCA แล้วน้ำหนักลด หนูก็ถามว่าจริงๆ เหรอ? เขาบอกว่าจริงไปชั่งมาแล้ว

ตอบ  ที่ได้คือการได้สื่อสารพูดคุย

ตอบ  พวกเราได้เพื่อนมากขึ้น เมื่อเราได้ทำโครงการนี้ ทำให้ผมมีความเป็นผู้นำ เวลาที่ผมได้กลับไปในพื้นที่ห่างไกลมีเด็กๆ หลายคน ไม่ค่อยได้สนใจการเรียนเท่าไร ทุกวันเมื่อเขากลับจากโรงเรียน เขาก็จะกลับบ้าน อยู่กับครอบครัว และช่วยครอบครัวในไร่ เมื่อผมไปที่นั่น ผมสอนพวกเขาเกี่ยวกับกิจกรรมที่อยู่ในโครงการ PCA ผมสอนเขา Push up แชร์บอล และตอนเช้าผมก็ฝึกพวกเขา ในสุดที่พวกเขามีความกระตือรือร้นตื่นตัว ผมเห็นพวกเขาพัฒนาขึ้นของมาก เขามีความสนใจการเรียนเพิ่มมากขึ้น

ตอบ  มีการสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น


ถาม  โครงการที่เราทำมีความสำคัญต่อน้องเยาวชนที่อยู่แถวชายแดนบ้านเราไหม?

ตอบ  การที่เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมเป็นการเติมเต็มความรู้สึกที่คิดถึงบ้าน คิดถึงครอบครัว แล้วก็เป็นการเสริมพลังซึ่งกันและกันกับเพื่อน


ถาม  ใครที่เป็นคนสนับสนุนเรา เขาสนับสนุนเราอย่างไรหรือมีใครที่รู้สึกว่าไม่เห็นด้วย เราทำอย่างไร?

ตอบ  อาจารย์ ให้คำปรึกษาส่วนงบประมาณก็มาจากโครงการที่พี่ๆ สนับสนุน

ตอบ  เวลาที่เขาเสนอตอนที่อาจารย์ประชุมกัน อาจารย์จะช่วยให้คำแนะนำว่าสิ่งไหนทำแล้วดี สิ่งไหนทำแล้วยังไม่ดี ถ้าเราทำสิ่งนั้นเพิ่ม จะมีคนอีกหลายคนได้รับประโยชน์ และคนอีกหลายคนก็จะได้บทเรียนรู้ด้วย ในโครงการนี้ภายในรุ่นของเรา รู้สึกว่ามันเป็นการเสริมพลังซึ่งกันและกัน